วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2556

ข่าวการเมือง เมื่อ 1-16 มี.ค.56



1.รัฐบาล-สมช.บินมาเลเซียลงนามเจรจา บีอาร์เอ็นหวังยุติไฟใต้ ด้าน ถวิลติง ผลีผลามยกระดับปัญหา! 
http://www.manager.co.th/images/blank.gif
       หลังโจรใต้ก่อเหตุไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างต่อเนื่อง ปรากฏว่า ล่าสุด สภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) ของไทยได้ลงนามเพื่อเปิดการเจรจากับแกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็น ที่เชื่อว่าเป็น 1 ในกลุ่มที่ก่อเหตุไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้วโดยมีมาเลเซียเป็นเจ้าภาพ      
       ทั้งนี้
เมื่อวันที่ 28 ก.พ. พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการ สมช.ได้เดินทางไปประเทศมาเลเซีย พร้อมด้วย พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) ,พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก รองปลัดกระทรวงกลาโหม และ พล.ต.ท.สฤษดิ์ชัย เอนกเวียง ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล เพื่อร่วมพิธีลงนามความเห็นพ้องทั่วไปเพื่อร่วมกระบวนการเจรจาสันติภาพในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้กับแกนนำขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี(กลุ่มบีอาร์เอ็น) ประกอบด้วยนายฮัสซัน ตอยิบ หรือนายอาแซ เจ๊ะหลง รองเลขาธิการฯ และหัวหน้าสภาการเมืองของกลุ่มบีอาร์เอ็น ,นายอาแว ยะบะ เลขานุการฝ่ายต่างประเทศ ,นายอับดุลเลาะห์ มาหะมะ ระดับนำฝ่ายอูลามา และนายอับดุลเลาะห์มาน ยะบะ ระดับนำฝ่ายการเมือง โดยมี พล.อ.ตันสรี ดาโต๊ะสรี บิน โมฮัมเหม็ด ซิน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดมาเลเซีย เป็นสักขีพยาน โดยการลงนามครั้งนี้มีขึ้นก่อนที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปประชุมที่มาเลเซียในช่วงสายวันเดียวกัน      
       อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ พร้อมด้วยรัฐมนตรีหลายคน เช่น นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ,พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ,นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รวมทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก และ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จะออกเดินทางจากท่าอากาศยานทหารกองบิน 6 (บน.6) เพื่อไปร่วมประชุมประจำปีระหว่างไทยและมาเลเซีย ผู้สื่อข่าวได้ถาม น.ส.ยิ่งลักษณ์ถึงกระแสข่าวเลขาธิการ สมช.ไปลงนามข้อตกลงกับแกนนำบีอาร์เอ็นจริงหรือไม่ แต่ น.ส.ยิ่งลักษณ์บ่ายเบี่ยง ไม่ยอมตอบคำถาม โดยบอกแค่ว่า การเดินทางไปครั้งนี้ จะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจ(เอ็มโอยู) 2 ฉบับ คือ ความร่วมมือเรื่องข้ามแดนและความร่วมมือด้านกีฬา      
       กระทั่งหลังหารือทวิภาคีกับนายนาจิบ ราซัก นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ทั้งสองฝ่ายได้เปิดแถลงร่วมกัน โดยนายนาจิบ แถลงว่า มีความยินดีที่จะอำนวยความสะกวกให้มีการหารือเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ระหว่างเจ้าหน้าที่ของไทยกับผู้ที่มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้อง และหวังว่าหลังจากนี้จะนำไปสู่การพูดคุย พร้อมแสดงความยินดีที่สภาความมั่นคงแห่งชาติของไทยได้หารือกับตัวแทนกลุ่มบีอาร์เอ็นและมีการลงนามในกระบวนการเจรจาเพื่อยุติปัญหา นอกจากนี้นายนาจิบยังแสดงความชื่นชมนายกรัฐมนตรีไทยที่ผลักดันให้เกิดการเจรจาได้      
       นายนาจิบ ยังบอกอีกว่า อยากเห็นพื้นที่ที่มีความรุนแรงเปลี่ยนมาเป็นพื้นที่ที่มีการพัฒนาและเติบโต พร้อมคาดว่าภายใน 2 สัปดาห์นี้จะมีการตั้งคณะทำงานร่วมของทั้งสองฝ่าย นายนาจิบ ยังขอบคุณ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรที่มีส่วนในการประสานให้เกิดการเจรจาครั้งนี้ด้วย      
       ด้าน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้กลับมาแถลงข่าวอีกครั้งในประเทศไทย โดยยืนยันว่า มาเลเซียไม่สนับสนุนให้ผู้ก่อความไม่สงบใช้ความรุนแรงและแบ่งแยกดินแดน รวมถึงการใช้พื้นที่ประเทศมาเลเซียในการหลบหนี และว่า ครั้งนี้เป็นเพียงการเริ่มต้นพูดคุยก่อนไปถึงการเจรจาเพื่อสร้างความเข้าใจ พร้อมยืนยันว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นคนหนึ่งที่ต้องการให้บ้านเมืองสงบ      
       ขณะที่ พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการ สมช.ให้สัมภาษณ์ โดยยอมรับว่า ตนเป็นผู้นำคณะในการลงนามกับกลุ่มตัวแทนบีอาร์เอ็น 4 คน โดยมีข้อตกลงที่จะร่วมกันพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อนำไปสู่สันติสุข และว่าหลังจากนี้จะมีการพูดคุยแสดงความคิดเห็นบนเวทีเพื่อให้เกิดสันติภาพ      
       ด้านนายถวิล เปลี่ยนศรี ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในฐานะอดีตเลขาธิการ สมช. ได้ออกมาแสดงความเป็นห่วงการลงนามสันติภาพระหว่างเลขาธิการ สมช.กับแกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็นว่า ทำถูกคนหรือไม่ แกนนำดังกล่าวเป็นตัวแทนของกลุ่มที่ก่อความไม่สงบจริงหรือไม่ เพราะทราบดีว่ามีหลายกลุ่ม และการพูดคุยกับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอันตรายเกินไป ซึ่งส่วนตัวแล้วไม่เชื่อว่าการเจรจากับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแล้วเรื่องจะจบ พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า รัฐบาลดำเนินการแบบรวดเร็ว และยกระดับผลีผลามเกินไป น่าจะสร้างมาตรฐานการไว้เนื้อเชื่อใจกันก่อน
       เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังรัฐบาลและ สมช.ไปลงนามสันติภาพกับแกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็น เหตุไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้สื่อข่าวจึงถาม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่า นายกฯ เพิ่งไปหารือที่มาเลเซียเพียงวันเดียว ก็เกิดเหตุการณ์จักรยานยนต์บอมบ์ที่ จ.นราธิวาส ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ รีบออกตัวว่า การเริ่มพูดคุย ไม่ได้หมายความว่าเป็นการหยุดเหตุได้ทันที พร้อมอ้างว่า เหตุไม่สงบที่เกิดขึ้น เกิดตามปกติอยู่แล้ว ไม่ใช่การตอบโต้การเจรจาสันติภาพกับแกนนำบีอาร์เอ็นแต่อย่างใด


2. พันธมิตรฯ ยื่น จม.รอง ปธ.สภาฯ ยันจุดยืนค้านนิรโทษฯ คดีทุจริต-ความผิดอาญา ขณะที่ ปชป.เมินร่วมหารือนิรโทษฯ จี้ รบ.ถอน กม.ปรองดอง 4 ฉบับก่อน!
http://www.manager.co.th/images/blank.gif
       ตามที่นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคเพื่อไทย พยายามผลักดันให้มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรมผู้ชุมนุมทางการเมือง โดยได้ประสานให้มีการหารือ 4 ฝ่ายในวันที่ 11 มี.ค.ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย(พท.)-พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.)-พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.)นั้น      
       
เมื่อวันที่ 5 มี.ค.ที่ประชุม ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้มีมติจะไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วมหารือดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า พรรคมีจุดยืนสนับสนุนการนิรโทษกรรมเฉพาะผู้ที่ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินเท่านั้น และว่า หากรัฐบาลจริงใจที่จะเดินหน้ากระบวนการปรองดอง ต้องถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฯ ทั้ง 4 ฉบับออกจากวาระการประชุมสภาก่อน ส่วนการเชิญกลุ่มต่างๆ เข้าหารือนั้น พรรคเห็นว่ามีการเชิญแค่บางกลุ่ม ไม่ครอบคลุมตัวแทนทุกกลุ่ม จึงไม่น่าจะนำไปสู่การปรองดองอย่างแท้จริง      
        ส่วนท่าทีของแกนนำพันธมิตรฯ นั้น
เมื่อวันที่ 6 มี.ค. นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรฯ ได้เข้ายื่นจดหมายแสดงจุดยืนของพันธมิตรฯ ต่อนายเจริญ โดยแกนนำพันธมิตรฯ มีมติว่า
         1. จุดยืนพันธมิตรฯ คือไม่เห็นด้วยและจะคัดค้านจนถึงที่สุดหากมีการออกกฎหมายใดใดเพื่อนิรโทษกรรมหรือล้างความผิดให้ผู้กระทำผิดทางอาญาหรือความผิดกรณีทุจริตทุกกรณี       
        2.ควรนิรโทษกรรมให้เฉพาะผู้ที่ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ รวมทั้งควรเพิ่มตัวแทนในการหารือ เช่น ตัวแทนองค์การพิทักษ์สยาม ,นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม ,ตัวแทนครอบครัวเจ้าหน้าที่รัฐผู้สูญเสีย รวมทั้งตัวแทนผู้ได้รับผลกระทบ เช่น ร้านค้าที่สี่แยกราชประสงค์และสยามสแควร์ ,ผู้แทนคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ(คอป.)      
        3.ในการลงมติ ต้องไม่ใช้มติเสียงข้างมาก แต่ต้องเป็นมติเอกฉันท์ 4.หากนายเจริญไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่พันธมิตรฯ ขอให้เพิ่มกลุ่มต่างๆ ในการหารือ พันธมิตรฯ จะไม่เข้าร่วมหารือด้วย หรือหากนายเจริญปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ แต่ต่อมามีการแปรญัตติหรือเปลี่ยนแปลงร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ไม่เป็นไปตามที่มีข้อยุติอย่างเป็นเอกฉันท์ พันธมิตรฯ จะคัดค้านและชุมนุมนอกสภาอย่างถึงที่สุด และ 5.หากนายเจริญไม่อยากเห็นความขัดแย้งนอกสภา ส.ส.ควรหยุดเสนอกฎหมายที่เกี่ยวกับการนิรโทษกรรมทุกฉบับ และควรถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฯทั้ง4ฉบับที่ยังค้างอยู่ในวาระการประชุมสภาออกมา      
        ขณะที่นายเจริญ ยืนยันว่า ไม่ขัดข้องกับข้อเสนอของพันธมิตรฯ ที่ขอให้เพิ่มกลุ่มในการหารือ และจะเชิญพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้ง นายเจริญ ยังขอให้ทุกฝ่ายสบายใจว่า การหารือครั้งนี้ ไม่มีเบื้องหน้าเบื้องหลัง ไม่มีเกมการเมือง จะนิรโทษกรรมให้กับกลุ่มผู้ฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ เท่านั้น สำหรับแกนนำจะยังไม่พูดถึง ส่วนที่พันธมิตรฯ และพรรคประชาธิปัตย์เสนอให้ถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฯ ทั้ง 4 ฉบับออกจากสภาก่อนนั้น นายเจริญ อ้างว่า ไม่สามารถไปบังคับสมาชิกที่เข้าชื่อเสนอกฎหมายได้ การจะถอนกฎหมายเป็นเรื่องของผู้เสนอแต่ยืนยันว่าระหว่างนี้จะยังไม่มีการพิจารณากฎหมายทั้ง4ฉบับ       
        ทั้งนี้ วันต่อมา
(7 มี.ค.) นายวรชัย เหมมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย และคณะ ได้เข้ายื่นร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง ต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยนายวรชัย ยืนยันว่า แกนนำมวลชนและผู้สั่งการจะไม่ได้รับอานิสงส์จากกฎหมายดังกล่าว เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อครหาว่าทำเพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พร้อมขอให้นายสมศักดิ์เร่งบรรจุร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯฉบับนี้เข้าสภาโดยเร็ว      
        ด้านนายสมศักดิ์ บอกว่า จะตรวจสอบความถูกต้องและบรรจุในวาระการประชุมสภาฯ ภายใน 1 สัปดาห์ ส่วนจะสามารถนำขึ้นมาพิจารณาได้เมื่อใด ต้องขึ้นอยู่กับสมาชิก ซึ่งส่วนตัวสนับสนุนแนวทางการสร้างความปรองดองอยู่แล้ว      
        ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ วิเคราะห์ว่า การเสนอร่างกฎหมายใหม่เข้าสภาของนายวรชัย น่าจะเป็นตัวหลอกมากกว่า เพราะในการประชุมสภาเพื่อพิจารณากฎหมาย หากมีบุคคลใดเสนอร่างกฎหมายเข้าไป แล้วมี ส.ส.คนอื่นเสนอร่างกฎหมายเอาไว้แล้ว เช่น ร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฯ ทั้ง 4 ฉบับที่ค้างอยู่ในวาระ อาจมีการอ้างว่าเป็นหลักการเดียวกัน จะได้ขอให้พิจารณารวมกันไป ดังนั้น การที่คงร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฯทั้ง4ฉบับเอาไว้จะเป็นหัวเชื้อในการล้างผิดให้กับคดีทุจริต       
       เป็นที่น่าสังเกตว่า ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ที่นายวรชัยและคณะเสนอ มี 7 มาตรา โดยเฉพาะมาตรา 3 มีความหมายกว้างมาก บัญญัติว่า ให้บรรดาการกระทำใดใดของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองหรือการแสดงออกทางการเมือง หรือบุคคลซึ่งไม่ได้เข้าร่วมชุมนุมทางการเมือง แต่กระทำการอันมีมูลเหตุเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการเมือง โดยการกล่าวด้วยวาจาหรือโฆษณาด้วยวิธีการใดเพื่อเรียกร้องหรือให้มีการต่อต้านรัฐ การป้องกันตน การต่อสู้ขัดขืนการดำเนินการเป็นการกระทบต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดของบุคคลอื่น ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ย.2549 ถึงวันที่ 10 พ.ค.2554 ไม่เป็นความผิดต่อไป และให้ผู้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง ขณะที่มาตรา 3 วรรคสอง บัญญัติว่า การกระทำในวรรคหนึ่ง ไม่รวมถึงการกระทำใดใดของบรรดาผู้มีอำนาจในการตัดสินใจหรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองในห้วงเวลาดังกล่าว       
3. “เจริญเดินหน้าถกนิรโทษฯ แม้มีผู้เข้าร่วมแค่ 5 จาก 11 กลุ่ม ด้าน พันธมิตรฯไม่ร่วมสังฆกรรม ประกาศ พร้อมต้านนอกสภา! 
http://www.manager.co.th/images/blank.gif
       ความคืบหน้ากรณีนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 จากพรรคเพื่อไทย ได้เชิญกลุ่มต่างๆ 11 กลุ่มเข้าร่วมหารือเกี่ยวกับการออกกฎหมายนิรโทษกรรมในวันที่ 11 มี.ค. ประกอบด้วย พรรคเพื่อไทย-ประชาธิปัตย์-พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย-กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) -องค์การพิทักษ์สยาม -กลุ่มเสื้อหลากสี-นางนิชา หิรัญบูรณะ ธุวธรรม -ฝ่ายทหาร- ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ-คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ(คอป.)   
       
ปรากฏว่า เมื่อถึงกำหนด มีผู้มาร่วมหารือแค่ 5 กลุ่ม คือ ตัวแทนพรรคเพื่อไทย ได้แก่ นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย และนายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี ,ตัวแทน นปช.นายก่อแก้ว พิกุลทอง ,ตัวแทนฝ่ายทหาร ได้แก่ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสวุวรรณ รองผู้บัญชาการทหารบก และ พล.อ.ม.ล.ประสบชัย เกษมสันต์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม ,ตัวแทนสมาคมผู้ประกอบการวิสาหกิจย่านราชประสงค์ พ.ต.อ.เสรี ไขรัศมี และตัวแทนจากพรรคภูมิใจไทยนายเรืองศักดิ์งามสมภาคส.ส.บัญชีรายชื่อกลุ่มมัชณิมา      
       ขณะที่
นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ แกนนำพันธมิตรฯ รุ่น 2 และโฆษกพันธมิตรฯ เผยเหตุที่พันธมิตรฯ ไม่เข้าร่วมหารือว่า แม้รองประธานสภาฯ จะตอบสนองข้อเสนอของพันธมิตรฯ ด้วยการเชิญคนทุกกลุ่มเข้าหารือ แต่พันธมิตรฯ ได้เคยแสดงจุดยืนไปแล้วว่า ไม่เห็นด้วยและจะคัดค้านอย่างถึงที่สุดหากมีการตรากฎหมายเพื่อนิรโทษกรรมผู้ที่กระทำผิดทางอาญาและคดีทุจริต ซึ่งการประชุมดังกล่าวชัดเจนว่า ไม่ได้จำกัดหัวข้อแค่การฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินและ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ เท่านั้น เพราะใช้คำว่า การแสวงหาแนวทางบรรเทาความขัดแย้ง” นอกจากนี้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายขึ้น เมื่อ ส.ส.พรรคเพื่อไทยได้เข้าชื่อ 42 คนเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมต่อประธานสภาฯ เมื่อวันที่ 7 มี.ค.เพื่อให้บรรจุเข้าวาระการประชุมสภา โดยให้การนิรโทษกรรมรวมถึงผู้กระทำผิดทางอาญาร้ายแรง ซึ่งรวมถึงหลายคนที่ขึ้นเวทีปราศรัยหรือสั่งการที่อาจได้รับประโยชน์ โดยอ้างว่าตนไม่ใช่ผู้มีอำนาจในการสั่งการ พันธมิตรฯ จึงขอไม่เข้าร่วมหารือ พร้อมประกาศว่า หาก ส.ส.ยังคงใช้อำนาจเสียงข้างมากในสภาต่อไปโดยไม่ฟังเสียงคนกลุ่มอื่น พันธมิตรฯ ก็ขอใช้สิทธิในการคัดค้านและต่อต้าน นอกสภาอย่างถึงที่สุดต่อไป      
       
ทั้งนี้ หลังที่ประชุม 5 ฝ่ายใช้เวลาหารือกว่า 2 ชั่วโมง นายเจริญ ได้แถลงผลประชุมว่า ทุกฝ่ายเห็นพ้องร่วมกัน 4 ข้อ คือ 1.ต้องการบรรเทาความขัดแย้งร่วมกัน 2.ต้องให้อภัยกัน ส่วนรายละเอียดของกฎหมายนิรโทษกรรม ทุกฝ่ายต้องออกแบบร่วมกัน 3.บรรเทาความขัดแย้งให้เกิดทัศนคติที่ดีในการออกกฎหมายนิรโทษกรรม อยากให้มีการปล่อยตัวชั่วคราวนักโทษการเมืองที่ยังถูกคุมขังอยู่ และ 4.การวิพากษ์วิจารณ์ของสื่อและพรรคการเมืองขอให้ยึดประชาชนเป็นหลักไม่ใช่เพื่อคนใดคนหนึ่ง       
       
ส่วนที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่เข้าร่วมหารือ เพราะต้องการให้ถอนร่าง พ.ร.บ.ปรองดองฯ ทั้ง 4 ฉบับออกจากสภาฯ ก่อนนั้น นายเจริญ บอกว่า จะเชิญนายอภิสิทธิ์มาหารือนอกรอบกับคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) เพื่อพูดคุยให้ประเทศเดินหน้าต่อไป ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้ออกมาย้ำว่า ต้องถอนร่างพ.ร.บ.ปรองดองฯทั้ง4ฉบับก่อนถึงจะมีการคุย      
       ส่วนกรณีที่นายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย และ ส.ส.ของพรรครวม 42 คน ยื่นร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน ต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาฯ แล้วนั้น ปรากฏว่า ที่ประชุมวิปรัฐบาลมีมติว่าไม่จำเป็นต้องเลื่อนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมดังกล่าวขึ้นมาพิจารณาเป็นวาระเร่งด่วน เนื่องจากยังมีกฎหมายค้างการพิจารณาในสภาอยู่หลายฉบับ รวมทั้งเห็นว่า เรื่องการนิรโทษกรรมต้องให้หลายๆ ฝ่ายพิจารณาอย่างที่นายเจริญดำเนินการอยู่
       ด้านนายวรชัย ไม่สนมติวิปรัฐบาล โดยยืนยันว่า หากร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ได้รับการบรรจุเข้าวาระการประชุมสภาเมื่อใด ตนจะใช้เอกสิทธิ์ ส.ส.เสนอต่อที่ประชุมสภาให้เลื่อนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ ฉบับนี้ขึ้นมาพิจารณาก่อนเพราะเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ      
       

เบนซ์ไปสอบแข่งขันเข้าม.1 ที่เตรียมพัฒน์ได้ที่ 1 ใน 4 คน เมื่อ 16 มี.ค.56



เบนซ์(จิดาภา) สระราชนาวีบางนา สอบเข้า ม.1 โรงเรียนเตรียมอุดมพัฒนาการ เมื่อ 16 มี.ค.56 ได้ที่ 1 ในจำนวน 4 คน