วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

หากท่านเป็น ผู้ปกครองนักว่ายน้ำ


คู่มือผู้ปกครอง ว่ายน้ำไทย

นักว่ายน้ำที่จะเข้าสู่โปรแกรมการฝึกซ้อม น่าจะมีความสามารถโดยพื้นฐานที่จะ เข้าทีมนักว่ายน้ำเยาวชนได้ควรจะว่ายน้ำ ท่าฟรีสไตล์ หรือท่ากรรเชียงได้แล้วในระยะ
100 เมตร จากนั้นก็นำพาเข้าสู่โปรแกรมที่แบ่งความสามารถได้เป็นรุ่น ๆ ได้ดังนี้
แนวการฝึกของนักว่ายน้ำมือใหม่ และอายุไม่เกิน 1
แนวทางของผู้ฝึกสอนในการฝึกซ้อมนักว่ายน้ำ
0 ปี เน้นการสอน มากกว่า การฝึกซ้อมที่เป็นพื้นฐาน การพัฒนาทักษะกลไกการเคลื่อนไหว ความสมดุลย์ของกล้ามเนื้อ และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกกับการเคลื่อนที่ไปในน้ำ ประสบการณ์ในการฝึกสอนนักกีฬา พบว่า การสร้างพื้นฐานโดยทั่วไปน่าจะเริ่มในอายุ ไม่มากไปกว่า 9 – 10 ปี ส่วนเด็ก ๆ ที่อายุราว 7 – 8 ปี สิ่งสำคัญไม่ใช่ระยะทาง แต่เป็นความรู้สึกที่อยู่ในน้ำ และพื้นฐานทักษะโดยทั่วไปของระบบการฝึกซ้อมหลักสูตรสมัยใหม่ จะสอนนักว่ายน้ำมือใหม่เพียงสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เป็นการเริ่มต้น โดยความสามารถ ของเด็กจะเข้ามาเป็นองค์ประกอบในการเพิ่มการฝึกซ้อมด้วย และฝึกฝนกัน 8 เดือนต่อปี ซึ่งในเมืองไทยแล้วอาจดูเป็นเรื่องขำขัน แต่ประเทศที่มี ความสามารถในระดับโลก หรือโอลิมปิค เริ่มต้นจากหลักสูตรในลักษณะอย่างนี้ นั่นอาจจะเป็นเพราะว่า ประสบการณ์หลาย ๆ ปี พบว่า ความค่อยเป็นค่อยไปจะรักษานักว่ายน้ำให้คงสมรรภาพไว้ได้ และเติบโตในระดับสูงกว่าได้ ความสำคัญในการสอนนักว่ายน้ำมือใหม่ คือทำให้เด็กรักการว่ายน้ำและสนุกสนานกับกิจกรรมทางน้ำ ฉะนั้น กิจกรรมต่าง ๆ นอกจากเนื้อหาแล้วยังมีองค์ประกอบที่เคียงข้าง ความสามารถ ก็คือ ความหลากหลายภายในกิจกรรมว่ายน้ำหรือความสนุกสนาน เพราะจะทำให้ความรักความสนุกดังกล่าว นำพาการกีฬาให้อยู่ในจิตใจของเด็ก ๆ ได้อย่างยาวนาน เพียงพอ ความยากของการสอนนักว่ายน้ำมือใหม่ก็คือ การเน้นประสิทธิภาพของสโตร์ค ในการใช้ความเร็ว หรือการว่ายเร็วอย่างมีคุณภาพของสโตร์ค การฝึกในแนวคิดนี้ จะช่วยให้เติบโตขึ้นอย่างมีประสิทธิผล แต่ต้องใช้ระยะเวลายาวนานพอสมควร อาจกล่าวได้ว่า ค่อยปลูกค่อยฟูมฟักความถูกต้องไปตามอายุ ก็จักค่อยเป็นค่อยไป จากแนวคิด ในการแข่งขัน เป็นพื้นฐานของความก้าวหน้าทางทักษะต่อไป หลักการฝึกแบบวงจร โดยพื้นฐานในการฝึกช่วงต้นปี ความหนักทางการฝึก ไม่ควรมากแต่การสอนทักษะตามลำดับเป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง และความสนุก ความมัน ที่มาจากความเร็วของการว่ายน้ำเป็นสิ่งที่เน้น เป็นอันดับรอง ความจำเป็นในการสอน ท่าทางการว่ายน้ำทั้ง 4 โดยลำดับ และนักว่ายน้ำเยาวชน อายุ ไม่เกิน 12 ปี ไม่จำเป็นต้องชี้ชัดไปว่า ท่าใด รายการใด เป็นความถนัดของตน ทั้งนี้เราอาจจะลำดับการสอนอย่างค่อยเป็นค่อยไป เช่นควบปีแรกหากการสอน นักว่ายน้ำมือใหม่เน้นเพียงท่าฟรี และกรรเชียง พอย่างเข้าปีที่ 2 – 3 จึงค่อยเพิ่มขึ้น ปีละ 1 ท่า แต่ความสามารถในการเรียนรู้ของแต่ละคน เป็นข้อกำหนดอีกอย่างหนึ่ง เสมือนการสอนคือ จิ๊กซอ ตำแหน่งใด มองเห็นชัดเจนกว่า ก็เติมต่อภาพ ณ แห่งนั้ก่อน การฝึกสอน เรามุ่งประเด็นการเตะเท้าเป็นอย่างมาก หรือการฝึกซ้อมการเตะเท้า เป็นหัวใจหลักของการฝึกซ้อมในแต่ละวัน ในนักว่ายน้ำมือใหม่และการใช้กระดานโฟม ก็เป็นส่วนหนึ่งของการเตะเท้าในระดับอายุ น้อยกว่า 10 ขวบนี้ นักว่ายน้ำมือใหม่อายุไม่เกิน 10 ปี นี้ สามารถเข้าร่วมกิจกรรม กีฬาอื่น ๆ ได้ เพราะว่ากีฬาบนบกต่าง ๆ จะช่วยเสริมสร้างลักษณะการเคลื่อนไหว และคุณสมบัติ ของนักกีฬาจะช่วยส่งเสริมนักกีฬาว่ายน้ำได้ดีกว่า การประเมินผลควรให้โอกาสและเวลา ข้อนี้ความเข้าใจของผู้ปกครองและโค้ชต้องตรงกันอยู่ว่า เราจะประเมินความสามารถ และความก้าวหน้าของนักว่ายน้ำ ใช่ว่าจะดูเพียงแค่ เวลาหรือสถิติแข่งขัน และใช่ว่าจะมองในระยะเพียงไม่กี่เดือน แต่เราต้องมองในระยะยาว ซึ่งพอมีแนวทางประเมินความก้าวหน้าของนักว่ายน้ำ ได้ดังนี้ ความสูง และน้ำหนัก 1 ครั้ง / เดือน การวิจัยของทีมว่ายน้ำโรงเรียนศรีวิกรม์ ปี 2548-2549 พบว่า ความสูงของนักว่ายน้ำ สูงขึ้น 1 เซนติเมตร ต่อเดือน เป็นต้น ความรัก ชอบกีฬาว่ายน้ำ 1ครั้ง / เดือน คะแนนเต็ม 10 ถามความรู้สึก หนูให้เท่าไหร่ ความสามารถในสโตร์คที่ถูกต้อง 1 ครั้ง / เดือน ความแข็งแกร่ง หรือแข็งแรงอาจวัดได้จากหลายวิธีเช่น ว่ายน้ำได้ระยะไกลขึ้น ความมีจิตใจเป็นนักกีฬา วัดจากการแข่งขัน ใจสู้เพียงใด รู้สึกอย่างไรกับการแข่งขัน ความรับผิดชอบ เช่น การมาฝึกซ้อมเป็นประจำ หรือไม่ เป็นต้น ความเร็ว หรือสถิติ จากการแข่งขันเปรียบเทียบ กับ ตนเองในอดีตและ ให้ระวังการเปรียบเทียบกับผู้อื่น มากเกินไป ความมีทักษะทางสังคม อาจประเมินจากการสังเกตหรือโวดเสียงจากเพื่อนในการอยู่ร่วมกันในทีม หรือทักษะการอยู่ การคบหา เพื่อน ๆ ในทีม และอื่น ๆ
หลักการฝึกนักว่ายน้ำเยาวชน
มาตรฐาน การฝึกซ้อมนักว่ายน้ำเยาวชนไทย อายุ 8 – 10 ปี : 8 – 10 ปี : 25 เมตร ฝึกทักษะได้ดีกว่าสระ 50 เมตร เพราะจำนวนระยะทางสั้นกว่า : 3-4 ครั้ง การฝึกครั้งละ : 40 – 60 นาที กายบริหาร : 1 – 2 ครั้งต่อสัปดาห์ : การฝึกแต่ละครั้ง 700 -2000 เมตร : 30 สัปดาห์ หรือ 75 – 250 กิโลเมตรต่อปี : เพิ่มลำดับ การฝึกจากท่าฟรีสไตล์ กรรเชียง กบ : 1. ทักษะการแข่งขัน เช่น การออกตัว กลับตัว เข้าเส้นชัย การว่ายควบคุมเวลาให้พอดี การฝึกความทนทาน พื้นฐาน การทำแบบฝึกหัดในท่าว่ายต่าง ๆ เพื่อเพิ่มทักษะให้สมบูรณ์ การทำความเร็วในระยะทาง 25 – 50 เมตร การฝึกแบบง่าย ๆ ในระยะทาง 25 – 50 เมตร การเล่นเกมส์ต่าง ๆ พัฒนาความรู้สึกของการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าด้วยทักษะกลไก เรียนรู้ ทักษะการว่ายน้ำ เน้นท่าฟรีสไตล์ กรรเชียง กบ พัฒนาความแข็งแรงและการประสานงานของร่างกายด้วยทักษะต่าง ๆ เรียนรู้เทคนิคที่ถูกต้องที่จะทำได้และได้ระยะทางมากขึ้น เรียนรู้เทคนิคที่ถูกต้องที่จะทำได้ในระยะสั้นด้วยความเร็วสูง
แข่งขันเพื่อ และท่าทางการว่ายน้ำ ที่ถูกต้อง
โค้ชมือใหม่
สนุกสนานกับกิจกรรมต่าง ๆ และมีความสุขที่ได้มาจากสระว่ายน้ำ เข้ากับกลุ่มนักว่ายน้ำด้วยความเป็นเพื่อน ฝึกฝนและนำไปใช้ในการว่ายน้ำได้อย่างดี เข้าใจระบบการฝึกและทักษะที่ถูกต้อง ความสนุกสนานที่ปราศจากความกังวล มีความก้าวหน้าทั้งความสามารถ 
มาตรฐาน การฝึกซ้อมนักว่ายน้ำเยาวชน อายุ
อายุนักว่ายน้ำ
สัปดาห์ละ
11-13 ปี : 11 - 13 ปี เด็กชายจะมีพัฒนาการช้ากว่าเด็กหญิง : 4 - 6 ครั้ง การฝึกครั้งละ : 75 - 90 นาที กายบริหาร : 2 - 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ระยะทางรวม : การฝึกแต่ละครั้ง 3500 – 6000 เมตร
การฝึกต่อปี
วัตถุประสงค์
: 44 สัปดาห์ หรือ 500 – 1000 กิโลเมตรต่อปี : เพิ่มความแข็งแรงด้วยน้ำหนักตัว เพิ่มพูนเทคนิคการว่าย
เนื้อหา
: 1. เพิ่มปริมาณการฝึก และความหนักของการฝึก
ทัศนคติและความเข้าใจ
ความเร็วและความทนทาน ฝึก กายบริหารด้วยน้ำหนักของตัวเอง ฝึกด้วยดัมเบล หรือฝึกหนักขั้นเริ่มต้น ความอ่อนตัวและความแข็งแรง รักษาคุณภาพเทคนิคการว่ายในขณะที่ขนาดร่างกายเปลี่ยนแปลง เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเพื่อประสิทธิภาพการว่ายน้ำ ค้นหาระยะทางต่าง หลายระยะในทุก ๆ ท่าว่าย พัฒนาความเร็วคงที่ให้ดีขึ้น และความเร็วระยะสั้นโดยใช้เทคนิคท่าว่าย
แข่งขันเพื่อ
โค้ชมือใหม่
มีความสนุกสนาน กับกิจกรรมของว่ายน้ำ และอยากมีความก้าวหน้า มีความเข้าใจเรื่องระบบการฝึกและผลของการฝึกว่าจะได้รับอะไร มีชีวิตนักเรียน นักว่ายน้ำอย่างมีคุณภาพ เช่น เรื่องการักษาสมดุลของเรื่องโรงเรียน เรื่องกิจกรรมต่อเนื่อง ว่ายน้ำ และการจัดเวลาแต่ละวัน พัฒนาความมีวินัยในตนเอง และเพิ่มความรับผิดชอบ เพิ่มความมั่นใจในความสามารถ ความก้าวหน้าขั้นกีฬาเยาวชน กีฬานักเรียน เพื่อเป้าหมายที่ตั้งไว้โดยใช้ ประสบการณ์การแข่งขันเป็นตัวขัดเกลาให้ก้าวหน้า 
มาตรฐานการฝึกซ้อมนักว่ายน้ำเยาวชนไทย อายุ
อายุนักว่ายน้ำ
13-15 ปี : 13 - 15 ปี สัปดาห์ละ : 6 - 9 ครั้ง การฝึกครั้งละ : 90 - 120 นาที กายบริหาร : 2 - 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ระยะทางรวม : การฝึกแต่ละครั้ง 4000 – 8000 เมตร การฝึกต่อปี : 46 สัปดาห์ หรือ 100 – 2500 กิโลเมตรต่อปี
วัตถุประสงค์
: เพิ่มปริมาณการฝึก สร้างระบบการฝึกเพื่อความหนักและแข็งแรง สร้างกล้ามเนื้อ
เนื้อหา
: 1. ฝกซ้อมด้วยโปรแกรมผสมผสาน
ทัศนคติและความเข้าใจ 
แข่งขันเพื่อ
เริ่มค้นหาความถนัดในรายการต่าง ๆ ไม่จำกัดท่า ไม่จำกัดระยะทาง สร้างความสมบูรณ์ของท่าทางการว่าย และเทคนิคต่าง ๆ พัฒนาพลกำลังให้นำไปใช้ในการว่ายน้ำ กฝนกิจกรรมหลากหลาย แต่เพื่อสิ่งเดียวความสามารถในการว่ายน้ำ รักษาระดับของความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ปรับปรุงระบบการฝึกให้เป็นวงรอบชัดเจน ใช้สโตร์คเทคนิคเป็นตัวเร่งความเร็วต่าง ๆ ประยุกต์พลังและความแข็งแรงสู่การว่ายน้ำ เลือกระยะทางหรือรายการแข่งใด ๆ สัก 2 – 3 รายการก็พอ รักษามุมของการเคลื่อนไหวให้มีพลังทั้ง ๆ ที่มีกล้ามเนื้อมากขึ้น ปรับปรุงทักษะแข่งขันให้เชี่ยวชาญ เรียนรู้การลดโปรแกรมการฝึกเพื่อเพิ่มสมรรถภาพในการว่ายน้ำ วันแข่งขัน มีความสนุกกับความเป็นนักกีฬา เช่น ชอบตั้งเป้าหมายและทำให้ได้ เข้าใจในกลยุทธ์การสร้างประสิทธิภาพ เช่น อาหารดี การฟื้นสภาพ มีอิสระเป็นตัวของตัวเอง แต่รับผิดชอบ พัฒนาทักษะส่วนตัว การมีชีวิตที่เหมาะสมกับนักเรียนและนักว่ายน้ำ การเข้านำชัยในระดับเยาวชน โดยเลือกท่าถนัดก่อน ตามด้วยระยะทาง อีกทั้งมีวิธีคิดและทักษะที่สมบูรณ์ 
คู่มือผู้ปกครอง ว่ายน้ำ เมืองไทย
เรียบเรียงโดย นายแพทย์ อภิชัย จิระประดิษฐา
และ โค้ชมือใหม่
เรื่องราวของนักว่ายน้ำเยาวชน ในเมืองไทยนั้นมีความก้าวหน้าโดยลำดับ คือ การเตรียมการด้านแผนระยะยาว และการรับมือกับจิตใจของตนเองที่ก้าวเข้ามาในวงการว่ายน้ำเมืองไทย ก็น่าจะมีแนวทางที่เป็นสากล แนวทางที่เป็นประโยชน์ ต่อความก้าวหน้าทางการกีฬาของเยาวชนอย่างมีเหตุมีผล โดยมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อ
มีประโยชน์ต่อผู้ปกครอง นักว่ายน้ำไทยให้มีความสุข ต่อการเล่นกีฬาและ พัฒนานักกีฬาว่ายน้ำไทย ต่อไป
ทำไมเด็กเล่นกีฬา
เพื่อความสนุก เพื่อฝึกฝนตนเองให้เชี่ยวชาญ เพื่อสร้างเพื่อนใหม่ เพื่อสนุกสนานในการแข่งขัน และชัยชนะ เพื่อออกกำลังกาย และเพิ่มสมรรถภาพ
การเป็นแบบอย่างที่ดีกับนักว่ายน้ำ
ใช้เวลามากเกินไป ผู้ฝึกสอนมีปัญหา สนุกสนานในกิจกรรมอื่นมากกว่าการว่ายน้ำ ขาดแรงจูงใจ และความสนุกสนาน ผู้ปกครองเน้นแต่ชัยชนะ ส่งเสริม แต่ไม่กดดัน ให้เด็กเลือกที่จะว่าย หรือเลือกที่จะเลิก เข้าใจความต้องการของนักว่ายน้ำ และสนับสนุน การว่ายน้ำเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเด็ก ไม่ใช่ทั้งหมดในชีวิต เชื่อมั่นในผู้ฝึกสอนว่ายน้ำของท่าน สนับสนุนนักว่ายน้ำไปถึงจุดมุ่งหมาย หวังไม่ใช้เพียงเพื่อชัยชนะ ช่วยให้นักว่ายน้ำมีความรับผิดชอบต่อทีมและกับผู้ฝึกสอน ฝึกให้นักว่ายน้ำมีระเบียบวินัย ส่งนักว่ายน้ำไปฝึกกับผู้ฝึกสอน และไม่ยุ่งเกี่ยวกับหน้าที่ผู้ฝึกสอน ให้ประวัติการป่วย/การใช้ยา และโรคประจำตัวของนักว่ายน้ำแก่ผู้ฝึกสอนตามความจำเป็น
เด็กๆ เรียนรู้พฤติกรรมต่าง ๆ มากมายจากคนรอบข้างเช่น เพื่อน
, ผู้ฝึกสอน หรือคนอื่น ๆ และบุคคลสำคัญที่เด็ก ๆ เรียนรู้คือ พ่อแม่ผู้ปกครอง
เด็กๆ เรียนรู้จากพ่อแม่ทั้งจากสิ่งที่พ่อแม่สอนสั่ง และที่สำคัญจากการซึมซับพฤติกรรม และการสังเกตการณ์กระทำของพ่อแม่ ดังนั้นต้นแบบจากพ่อแม่จึงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับเด็ก ๆ
ดังนั้นสิ่งที่ผู้ปกครองควรต้องปฏิบัติและสำคัญมากคือ
• ส่งเสริมนักว่ายน้ำทุกคนในทีม
• ควบคุมอารมณ์ เมื่อเกิดภาวะความไม่พอใจในเรื่องต่าง ๆ
• ต้องอดทนและยอมรับในการตัดสินใจของกรรมการผู้ตัดสิน หรือผู้ฝึกสอน หรือที่เรียกว่า มี
ช่วยบุตรหลานให้สนุกสนานในกีฬา
น้ำใจนักกีฬาแสดงความยินดีกับคู่ต่อสู้ เมื่อเราแพ้
ช่วยนักกีฬาว่ายน้ำตั้งเป้าหมายของการว่ายน้ำ 2 ประการ การตั้งเป้าหมายเป็นการควบคุมนักกีฬา ให้อยู่ดีไปในทิศทางดี การตั้งเป้าหมายช่วยให้นักว่ายน้ำพัฒนาไปสู่จุดมุ่งหมาย ควร ไม่ควรทำ เป็นเพียงผู้สังเกตการณ์ระหว่างการแข่งขัน อย่าแนะนำการทำหน้าที่ของผู้ฝึกสอน อย่าฝึกสอนบุตรหลานตนเองระหว่างเรียน อย่าตำหนิติเตียนทีมว่ายน้ำอื่น งดสุราและแอลกอฮอล์ ในการประชุมทีม ะตือรือล้น สนใจบุตรหลานและทีม ควบคุมอารมณ์ตนเอง ช่วยเหลือผู้ฝึกสอน, ทีมและเป็นส่วนหนึ่งในงานว่ายน้ำ แนวทางการประเมินผลนักว่ายน้ำ เพื่อวัดความสำเร็จของการฝึกซ้อมว่ายน้ำ
ถ้าผู้ปกครองสามารถทำความเข้าใจ และตอบคำถามเหล่านี้ได้ ปัญหาของนักว่ายน้ำจะเป็นเรื่องเล็กน้อย และบุตรหลานจะมีความสนุกและความสุขในการว่ายน้ำ
คุณสามารถให้ผู้อื่นร่วมดูแลบุตรหลานได้หรือไม่ ? เรายอมรับข้อบกพร่องของตัวเอง และบุตรหลานได้หรือไม่ ? คุณยอมรับความผิดหวัง ความพ่ายแพ้ของบุตรหลานได้ หรือไม ? คุณยอมรับชัยชนะ หรือความไม่แน่นอนของบุตรหลานได้ หรือไม่ ? ให้เวลากับบุตรหลานได้หรือไม่ ? ให้บุตรหลานได้ตัดสินใจเองบ้างไหม โดยเฉพาะเวลาว่ายน้ำ หรือแข่งขันหรือไม่ ? คุณเป็นแบบอย่าง และให้ความคิดแนวบวกแก่บุตรหลานหรือไม่ ?
อาจมีบางอย่างที่ไม่ดีของผู้ฝึกสอน
การใช้คำพูดทำร้ายนักกีฬา เตียนการว่ายน้ำมากกว่าพฤติกรรมการว่ายน้ำ (หมายถึง สามารถปรับปรุงได้) การเลือกเครื่องดื่มสำหรับกีฬาตามชอบก็ได้ แต่ต้องมีรสชาติเจือจาง

เนื้อหา

ทัศนคติและความเข้าใจ
สระ
สัปดาห์ละ
ระยะทางรวม
การฝึกต่อปี
วัตถุประสงค์
อายุนักว่ายน้ำ
รู้จักในกีฬา และพัฒนาการตามวัยของเด็ก และไม่ก้าวกระโดดเกินความรู้สึก และวุฒิภาวะ รู้ในความแตกต่างของเด็กนักว่ายน้ำแต่ละบุคคล ทางสรีระวิทยา และจิตวิทยาเด็ก เข้าใจในความมุ่งหวังของเด็ก แต่ละคนในทีม โดยเข้าใจความคิดของเด็ก ๆ สามารถเข้าใจ และแก้ปัญหาในเด็กแต่ละคนตามความแตกต่างของเด็ก ๆ ด้วยการรับฟังและแยกแยะ แก้ไข มีจิตวิทยา และสามารถสร้างให้เด็กมีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของทีม มีเป้าหมายในการฝึกสอน มากกว่าชัยชนะ มีเป้าหมายวันนี้ และวันหน้าไปพร้อม ๆ กัน สอนเด็กให้มีความสุขในกีฬา และรู้แพ้ รู้ชนะ สอนว่ายน้ำแล้ว สอนจิตสอนใจด้วย สอนให้เด็กมีพัฒนาการด้านบวก และพร้อมเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เก่งอยากเดียวไม่พอต้องดีพอด้วย มีความเป็นครู และมีพฤติกรรมเป็นแบบอย่างแก่เด็ก พร้อมกับมีความเป็นโค้ชที่ดีอีกด้วย ทั้งหมดมากพอ ศึกษาเข้าใจได้  7-14 ปี โดย FINA
สหพันธ์ว่ายน้ำนานาชาติ) อายุAge (ปี)
(

7-8

9-10

11-12

13-14

กี่ครั้งต่อวัน

Practices / day

1

1

1

1-2

กี่ครั้งต่อสัปดาห์

Practices/week

2-3

3-4

4-6

6-10

แต่ละครั้งนานแค่ไหน

Length/practice
นาที
45-60

min.
นาที
60-90

min.
นาที
60-120

min.
นาที
90-120

min.

กี่เมตรต่อชั่วโมง

Meters/Hour

200-500

1000-1600

1200-2500

1500-3500

ฝึกปีละกี่เดือน

Seasons Length
9 เดือน ต่อปี
ไม่มากกว่า

ผมอยากเห็น เด็กว่ายน้ำไทย
เด็กไทย
10 เดือน ต่อปี
มีชีวิตที่ปกติตามธรรมชาติของ เด็กๆ บ้างนะครับ

กายบริหาร

Dryland

ฝึกทักษะกลไกการเคลื่อนไหว
ฝึกกีฬาอื่น ๆ ประกอบด้วย

ความยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ
และกายบริหาร

การดึงยาง
กายบริหาร

ชนิดของการฝึก

Train Catagories

สามารถปรับแต่งตามช่วงเวลาใด ๆ และรายการที่แข่งขัน

การแบ่งฤดูกาลฝึก นั้นสำคัญมาก เมืองไทยยังขาดความใส่ใจ ในข้อนี้

ฝึกความทนทาน

Aerobic/Endurance
35 %
มากกว่า
60 %
มากกว่า
60 %
มากกว่า

ฝึกความเร็ว

Anaerobic/sprint

5 %

โค้ชหลายคนฝึกมากไป
10 %
หนักเกินไป
15 %
มากกว่า

เด็กจึง
แคระแกรน

ฝึกทักษะและเทคนิค

Skills and Technique

60 %

30 %

25 %
คู่มือผู้ฝึกสอนว่ายน้ำสหรัฐ และ สมาคมผู้ฝึกสอนว่ายน้ำแห่งประเทศไทย
อ้างถึงใน



แนวทางการสอนการฝึกซ้อม

น้องเบนซ์ไปรับป๋าตุ๋นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่บริเวณของคณะครุศาสตร์ ที่ กรุงเทพ ฯ เมื่อ 29 เม.ย.54







ลานชีวิตใหม่ในวันหยุด เพื่อความสุขของครอบครัวชาวแฟล๊กบางนา จัดโดย ศูนย์เยาวชนบางนา เมื่อ 24 เม.ย.54